รับตีเทริน รถไถ เก่า ให้ราคาดี โทรหาเรา 0890111624 โทรเลย

   

            


ขายคูโบต้ามือสอง สวยๆ ดาวน์ต่ำ

   ผ่อนรายปี     

และตีเทรินรถเก่าให้ราคาดี

 ลูกค้าของเรา 

         

 


สนใจ โทรเลย    0890111624

  Line Id : 0890111624              

 







 



บริษัทในเครือ
 

คูโบต้าอุดรธานี  

เอเชียการค้ากุมภวาปี  

คูโบต้าเมืองเลย  

แสนอุดมการเกษตร 

บริษัท เซอร์โก้ จำกัด 


 

แหล่งที่มาขอผู้เยี่ยมชม
 สถิติวันนี้ 141 คน
 สถิติเมื่อวาน 164 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3806 คน
46669 คน
1770613 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-06

ผลผลิต “ข้าว อินทรีย์”
อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของเกษตรกรไทย


  

           ข้าว อินทรีย์  เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือที่นักวิชาการ เรียกว่าออร์แกนนิค ฟาร์มมิ่ง (Organic Farming) ซึ่งเป็น วิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ อาทิ ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกัน กำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษา ผลผลิต  หากมีความจำเป็น แนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติและสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคน หรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลิตผลในดินและน้ำในขณะเดียวกันก็ เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี  ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้างส่งผลให้ผู้ บริโภคมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

              การผลิตข้าว อินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของ ธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษา สมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สาร เคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความ ต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืชดินและน้ำให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความ สมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการ ระบาดของโรค แมลงและศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับ ที่น่าพอใจเทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติ เช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกันตรงที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุก ขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
  • ประการแรก     การเลือกพื้นที่ปลูก  เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดิน   โดยธรรมชาติ ค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญ เติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูกไม่ควรเป็นพื้นที่ ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ที่จะใช้ในการผลิตข้าวโดยปกติมีการตรวจสอบหาสารตกค้างในดิน หรือในน้ำ
  • ประการที่ สอง   พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดม สมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรค แมลงที่สำคัญและมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความ ต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าว อินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข. 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ด ดีเป็นพิเศษ
  • ประการที่ สาม   การเตรียมเมล็ดพันธุ์พันธุ์ข้าว   เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตพันธุ์ข้าวที่ได้รับการดูแล อย่างดี มีความงอกสูงผ่านการเก็บรักษา โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ปราศจากโรคแมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ใน สารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1ลิตร) เป็นเวลานาน 20  ชั่วโมงแล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก
  • ประการที่สี่     การเตรียมดิน  วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดิน คือสร้างภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและสภาพแวดล้อมในแปลง นาก่อนปลูกโดยการไถดะไถแปรคราดและทำเทือก
  • ประการที่ห้า   วิธีการปลูก การปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสม ที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือกการรักษาระดับน้ำขังในนาจะช่วยควบคุมวัชพืช และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดีปราศจาก โรคและแมลงทำลาย เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีก เลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิด โดยเฉพาะ ปุ๋ยเคมีจึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่าระยะปลูกที่แนะนำสำหรับการปลูกข้าว โดยทั่วไปเล็กน้อย คือประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 5 ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้ หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ     ใน กรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละ พันธุ์และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานแนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่ เหมาะสม
  • ประการที่หก   การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน   เนื่องจากการปลูก ข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นการเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ได้เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอใจ นอกจากนี้ เกษตรกรยังต้องรู้จักการจัดดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าว อินทรีย์ให้ได้ผลดี และยั่งยืนมากที่สุดอีกด้วย
              กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนบริษัทในเครือสยามไชยวิวัฒน์     และบริษัทในเครือหลวงค้าข้าว จำกัด ดำเนินการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยให้คำปรึกษาแนะนำและประสานงานกับทุก ๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และได้คัดเลือกเกษตรกรจากจังหวัดพะเยาและเชียงรายที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งด้วย  โดยได้ชี้แจง ให้เกษตรกรเข้าใจหลักการและขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์ที่ถูกต้อง พร้อมจัดทำข้อตกลงและการยอมรับเพื่อนำไปปฏิบัติตามหลักการการผลิต ข้าวอินทรีย์ รวมทั้งจัดนักวิชาการออกติดตามให้คำแนะนำใน ทุกขั้นตอนของการผลิต จากการดำเนินงานตั้งแต่ฤดูกาลผลิตปี 2535 เป็นต้นมา มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณปีละ 100 ราย  เป็นพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่  ข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรป  ส่วนที่เหลือจะ วางจำหน่ายภายในประเทศ ราคาข้าวเปลือกอินทรีย์ที่เกษตรกรได้รับจะ สูงกว่าราคาข้าวเปลือกโดยทั่วไปประมาณร้อยละ 10 แต่ในส่วนที่เป็นข้าวสารบรรจุจำหน่ายใน ประเทศไทยมีราคาสูงกว่าข้าวสารทั่วไปประมาณร้อยละ 20 สำหรับในตลาดต่างประเทศข้าวขาวดอกมะลิ 105 อินทรีย์จะมีราคาใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์บาสมาติ

                ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการทำนาข้าวเป็นหลัก คนไทยยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักอยู่ ข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ซึ่งเป็น วิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ ก็ถือเป็นเกษตรกรรมแบบใหม่ที่เป็นทางเลือกสำคัญทางเลือกหนึ่งให้กับคนไทยอีก ด้วย


เรียบเรียงโดย :

นางสาวสรณ์สิริ  พรรุ่งเรืองศรี
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
กองเกษตร สารนิเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิง : http://www.moac.go.th/builder/aid/articleupdate.php?id=30


                  

.   >