รับตีเทริน รถไถ เก่า ให้ราคาดี โทรหาเรา 0890111624 โทรเลย

   

            


ขายคูโบต้ามือสอง สวยๆ ดาวน์ต่ำ

   ผ่อนรายปี     

และตีเทรินรถเก่าให้ราคาดี

 ลูกค้าของเรา 

         

 


สนใจ โทรเลย    0890111624

  Line Id : 0890111624              

 







 



บริษัทในเครือ
 

คูโบต้าอุดรธานี  

เอเชียการค้ากุมภวาปี  

คูโบต้าเมืองเลย  

แสนอุดมการเกษตร 

บริษัท เซอร์โก้ จำกัด 


 

แหล่งที่มาขอผู้เยี่ยมชม
 สถิติวันนี้ 141 คน
 สถิติเมื่อวาน 164 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3806 คน
46669 คน
1770613 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-06

การปลูกพืชอายุสั้นในสภาวะแห้งแล้ง


                               สภาวะแห้งแล้ง หรือภัยแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝน อย่างผิดปกติจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เป็นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณฝนตกในช่วงต้นปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง คือช่วงธันวาคม-เมษายน อย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยตรง
             เมื่อหมดฤดูนาปีแล้ว จำเป็นต้องให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่

              แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้น การเตรียมดินจะยุ่งยาก เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างแย่ จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้วทำร่องช่วยระบายน้ำและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากระบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขัง ไม่ควรปลูกพืชอายุสั้นใด ๆ

     การปลูกพืชอายุสั้นทดแทนนาปรัง ควรปฏิบัติดังนี้

  • ระยะเวลาปลูก
    ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม - 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง และพืชเหล่านี้ ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์
  • ยกร่องแปลงปลูก
    ยกร่องกว้าง 1.5 เมตร ทำคลองส่งน้ำและคูระบายน้ำให้เหมาะสมกับความยาวของร่องปลูกเพื่อสามารถให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้น้ำท่วมถึงบริเวณสันร่องปลูกแล้วปล่อยน้ำค่อย ๆ ซึมเข้าไปในแปลงปลูก
  • พื้นที่ที่เป็นดินทรายจัด
    ควรปลูกถั่วเหลืองโดยไม่เตรียมดิน การให้น้ำควรปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงแล้วระบายออก เป็นการให้น้ำปริมาณสูงกว่าการให้น้ำแบบยกร่องปลูกแต่ประหยัดน้ำกว่าการทำนาปรัง
  • ควรใช้ฟางข้าวหรือเศษวัชพืชคลุมสันร่องปลูกพืชไร่
    (ยกเว้นถั่วลิสง)
  • ระยะเวลาการให้น้ำ
    ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวโพดฝักอ่อน, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง ควรให้น้ำ 14 วันต่อครั้ง ตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะออกดอก จากนั้นให้น้ำ 7 วันต่อครั้ง จนอีก 14 วัน ก่อนจะเก็บเกี่ยวจึงงดให้น้ำโดยสิ้นเชิง (ยกเว้น ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดฝักอ่อน ควรงดให้น้ำ 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว) ถั่วเขียว ควรให้น้ำ 21 วันต่อครั้ง และงดให้น้ำ 14 วันก่อนเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย

     การจะเลือกปลูกพืชไร่ชนิดใดมีข้อเสนอแนะดังนี้

  1. พืชต้นฤดู ควรเป็นพืชอายุสั้น (70-80 วัน) ทนแล้ง แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ภายในเดือนพฤษภาคม เพราะฝนมาล่าช้า ไม่ควรปลูกพืชอายุสั้น เพราะเป็นการเสี่ยงในช่วงเก็บเกี่ยวจะเจอฝนหนัก ดังนั้นถ้าฝนมาล่าช้าควรปลูกพืชที่มีอายุยาวเพียงพืชเดียว
  2. พืชที่สอง ควรปลูกทันทีหลังเก็บเกี่ยวเพราะฝนจะไม่ทิ้งช่วงนานในช่วงนี้ ถ้าปลูกล่าช้าไปจะมีผลกระทบต่อผลผลิต และถ้าฝนตกหนักตามมาจะทำให้เตรียมพื้นที่ปลูกได้ยาก

       พืชที่สองนี้ต้องพิจารณาชนิดของพืชเป็นสำคัญและระยะเวลาฤดูฝนที่ยังเหลืออยู่ว่ามีกี่วันโดยถือว่าฝนจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม

     การปลูกถั่วเขียว

               ควรปลูกพืชในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ความชื้นในดินยังเหลืออยู่ ในภาคเหนือและอีสานควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์เพราะเป็นช่วงหมดฤดูหนาวจะทำให้ถั่วเจริญเติบโตได้ดี พันธุ์ที่แนะนำคือ อู่ทอง 1 ฝักไม่แตกง่าย อายุ 60-70 วัน กำแพงแสน 2 เหมาะปลูกในฤดูแล้งนอกเขตชลประทาน อายุ 65-75 วัน

     การปลูกถั่วเหลือง

              พันธุ์ที่เหมาะสมในสภาวะแห้งแล้ง คือ พันธุ์สจ. 4, สจ. และเชียงใหม่ 60 อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควรปลูกให้ช่วงออกดอกตรงกับอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน เพราะจะทำให้ไม่ติดฝัก

     การปลูกข้าวโพด

          พันธุ์ที่แนะนำคือ พันธุ์ลูกผสม จะทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ สุวรรณ 2301, และพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ จะทนแล้งได้ดี อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ข้อควรระวัง ในการปลูกข้าวโพดคือ ช่วงผสมเกสรอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจำทำให้ติดเมล็ดไม่ดี เมล็ดจะลีบและช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี หนูจะระบาดอย่างรุนแรง เพราะเป็นช่วงที่อาหารเริ่มขาดแคลน ควรหาทางป้องกันหนูไว้แต่เนิ่น ๆ

     การปลูกทานตะวัน

          ทานตะวันเป็นพืชที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วเหลือง พันธุ์ที่แนะนำ คือ พันธุ์ลูกผสม เพื่อการผลิตน้ำมันพืช เพราะมีระบบรากที่ดีรากแผ่กว้างดูดซับความชื้นได้ดี ตอบสนองต่อปุ๋ยและมีแมลงศัตรูรบกวนน้อย อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ทานตะวันสามารถปลูกแทนข้าวนาปรังได้ในบางพื้นที่ที่มีการจัดการดี และสภาพพื้นที่นาที่มีการระบายน้ำดีไม่ท่วมขัง ในที่นาดอนก็ปลูกได้เหมือนพืชไร่ทั่ว ๆ ไป เช่น ข้าวโพด, ถั่วต่าง ๆ

     การปลูกหอม กระเทียม และพืชผักอื่น ๆ

        ให้คลุมด้วยฟางข้าว, หญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำ และลดความรุนแรงจากแสงแดดส่องโดยตรง รวมทั้งรักษาความชื้นในดิน และบังแสงสว่างทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้

 

     การปลูกพืชอายุสั้น  นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ตามมาได้แก่

  1. เป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, โรคไหม้คอรวง เป็นต้น
  2. เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น
  3. ลดการเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตนาปรังอาจเสียหายเมื่อน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรจะมีรายได้ชดเชยหรือได้มากกว่าการทำนาปรัง

อ้างอิง : http://www.doae.go.th/library/html/detail/short/summer.htm


                  

.   >